เชื่อหรือไม่ว่าในประเทศไทยมีผู้ที่เป็น โรคกระดูกพรุน มากกว่า 1 ล้านคน และยังมีคนอีก 25% ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นจนกว่าจะล้มแล้วกระดูกหัก ซึ่งหากมีอาการรุนแรงก็อาจจะทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ถึงแม้โรคนี้จะพบได้มาในผู้สูงวัย แต่ก็สามารถเป็นได้ทุกวัย
อาการ โรคกระดูกพรุน ที่พบบ่อย
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าส่วนใหญ่จะรู้ตัวว่าเป็นกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อล้มแล้วกระดูกหัก ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบได้ก็อย่างเช่น อาการปวดหลังเรื้อรังหากรุนแรงมากขึ้นกระดูกสันหลังก็จะยุบตัวทำให้กลายเป็นคนหลังค่อม นอกจากนี้ยังมี ข้อมือ และสะโพก ที่ถูกทำลายได้มากที่สุด
ปัจจัยเสี่ยง โรคกระดูกพรุน
ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหากเข้าสู่วัยทอง หมดประจำเดือน หรือมีการผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างซึ่งจะทำให้ไม่มีฮอร์โมนทางเพศมวลกระดูกจึงลดลงผู้หญิงจึงมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ถึง 40 – 50% เลยทีเดียว
- กรรมพันธุ์ – หากพ่อแม่เป็นก็อาจจะส่งต่อไปยังลูกได้
- เชื้อชาติ – คนผิวขาว และคนเอเชียมีความเสี่ยงสูง
- ยา – การได้รับยา เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาทดแทนธัยรอยด์ ยาป้องกันการชัก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- เคยกระดูกหัก – มีโอกาสที่จะหักที่เดิมสูง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – หากดื่มมากกว่า 3 แก้ว/วัน ก็มีความเสี่ยงเป็นกระดูกพรุนสูง
- บุหรี่ – สารนิโคตินจะไปทำทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกบางลง
- ผอมมากไป – มีการพบว่าคนที่ผอมมีความเสี่ยงกระดูกพรุน และมีโอกาสกระดูกหักมากกว่าคนรูปร่างปกติ
- ขาดสารอาหาร – การที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารทีจำเป็นในการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน
- ไม่ออกกำลังกาย – มีการพบว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีโอกาสเป็นกระดูกพรุนมากกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
- พฤติกรรมการทาน – การที่ทานเกลือมากเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน การดื่มกาแฟเกินวันละ 3 แก้ว การดื่มน้ำอัดลม การรับโปรตีนมากเกินความจำเป็น มีความเสี่ยงที่กระดูกจะพรุนสูง
วิธีป้องกัน โรคกระดูกพรุน
- ควรทานอาหารที่เพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ นม ปลาตัวเล็ก ปลาซาดีน กุ้งแห้ง เป็นต้น
- เพิ่มวิตามินดี โดยการตากแดดยามเช้าวันละ 15-30 นาที รวมไปถึงการดื่มนมเป็นประจำ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ อาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง หากเป็นผู้สูงอายุควรจะออกกำลังกายเบา ๆ เช่นเดิน วิ่งเหยาะ ๆ
ดังนั้นหากสงสัยว่ากำลังเป็น โรคกระดูกพรุน ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยเฉพาะผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ไม่ควรละเลย ซึ่งหากพบว่าเป็นก็จะได้ปฏิบัติตัว และรักษาอย่างถูกต้อง