ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิต ช่วยให้เกิดความสะดวกสบายมากมายให้กับชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่ควบคู่กันมากับความสะดวกสบาย ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นก็คือเรื่องของ อาชญากรไซเบอร์ ที่สร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจเอกชล และรวมไปถึงปัจเจกบุคคลมากยิ่งขึ้นไปทุกที ความคนอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว
แต่ถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้โซเชียลเป็นประจำ เรื่องเหล่านี้ก็จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะขออาสาพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภัยร้ายใกล้ตัวอย่าง อาชญากรไซเบอร์ ให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งรวมไปถึงพฤติกรรมฉ้อโกงต่าง ๆ ว่าจะมีมาในรูปแบบไหนบ้าง แล้วจะสามารถป้องกันตัวได้อย่างไรบ้าง ทุกอย่างอยู่ภายในบทความนี้ทั้งหมด
อาชญากรไซเบอร์ คืออะไร
หากจะกล่าวถึง อาชญากรไซเบอร์ ก็คือรูปแบบของการทุจริต หลอกลวงชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ต และช่องทางออนไลน์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ และรวมไปถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้บนโทรศัพท์มือถือ โดยที่ในปัจจุบัน อาชญากรไซเบอร์ ถือว่าเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของประเทศ เพราะจากสถิติล่าสุดเมื่อปี 2021 ได้บอกเอาไว่ว่า ภัยคุกคามทางออนไลน์นั้นสามารถความเสียหายต่าง ๆ ไปทั่วโลก ที่รวมเป็นเม็ดเงินทั้งหมดที่มากกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เยอะมาก ๆ จนเกินกว่าที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะอยู่นิ่งเฉย และสำหรับภายในประเทศไทย ก็มีสถิติที่น่าตกใจเช่นเดียวกัน โดยข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยออกมาจาก สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) เดือนมีนาคม 2565 ได้เปิดเผยเอาไว้ว่า ชาวไทยกว่า 50% ของประชากรทั้งหมด เคยมีประสบการณ์โดยตรงต่อการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ โดยที่ 2 ใน 5 คนของทั้งหมด หลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งความเสียหายโดยรวมในขณะนั้นมีมากถึง มีความเฉลี่ยที่มากถึง 2,400 บาทโดยประมาณ ต่อคน
วิธีป้องกันจาก อาชญากรไซเบอร์
อาชญากรไซเบอร์ จะมีแนวแนวที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยใชที่ได้มีสื่อชั้นนำระดับโลกอย่าง Forbes ได้ออกมาให้คำแนะนำในการป้องกันตัวเองที่มีให้เลือกทำมากกว่า 15 ข้อ เช่น การหมั่นอัปเดตซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ IT อื่น ๆ พยายามตั้งพาสเวิร์ดที่คาดเดาได้ยากและหลีกเลี่ยงการใช้พาสเวิร์ดเก่าซ้ำอีกครั้ง อย่าแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์หรือเล่นเกม และควิซตอบคำถามจากเว็บไซต์ที่ดูไม่น่าเชื่อถือ รวมถึงควรระมัดระวังตัว ไม่หลงเชื่อหรือคลิกลิงก์อะไรง่าย ๆ เป็นต้น โดยที่ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดอาชญากรทางไซเบอร์ได้ทั้งนั้น